เทคนิคการ เทรดฟอเรกซ์

เทคนิคการ เทรดฟอเรกซ์ แบบเฮจจิ้ง (hedging)

ในการ เทรดฟอเรกซ์ ความรู้ทางเทคนิคอล (technical) ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเข้าเก็งกำไรในตลาดฟอเรกซ์ โดยความรู้ทางเทคนิคสามารถช่วยให้เราเปิดออเดอร์ในจุดที่ได้เปรียบ และปิดออเดอร์นั้นในจุดที่ทำกำไรได้สูงสุด ในการเคลื่อนที่ของราคาในช่วงจังหวะนั้น ๆ อย่างไรก็ตามในบางครั้งการเข้าออเดอร์ เทรดฟอเรกซ์ มิได้เป็นตามที่คาดการณ์ไว้เสมอไป เช่น เข้าเทรดในช่วงการประกาศข่าวเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ข่าว Non farm payroll employment ของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้กราฟไม่เป็นไปตามแผนเทคนิคที่วางไว้ กรณีดังกล่าวการแก้ปัญหาอาจทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ

  1. ตัดออเดอร์นั้นทิ้ง (cut loss) หรือเมื่อราคาวิ่งไปกลับชน stop loss ในกรณีตั้ง stop loss ของราคาไว้
  2. การทำเฮจจิ้ง (hedging) ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

                เฮจจิ้ง (heกging) คือการประกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง ป้องกันการล้างพอร์ต แม้ว่ากราฟราคาจะวิ่งไปในทิศทางไหนและมากเพียงใดก็ตาม ทั้งยังไม่ถือว่าช่วงนั้นขาดทุน แม้กราฟราคาจะวิ่งไปในทิศทางตรงข้ามตามที่คาดคิดและเปิดออเดอร์ไว้แล้วก็ตาม เช่น เมื่อคาดว่าราคาจะทะยานขึ้น จึงเปิดออเดอร์ buy แต่ปรากฏว่าราคากลับพุ่งลง เมื่อวิเคราะห์แล้ว ราคาน่าจะลงไปสักพัก ในการแก้พอร์ต ผู้เทรดอาจเลือกเปิดออเดอร์ sell ตามในจำนวน lot ที่เท่ากับเปิดออเดอร์ buy ไว้ เพียงเท่านี้ย่อมเสมือนการตัดการขาดทุนไว้ เพราะไม่ว่าราคาจะวิ่งในทิศทางใด ย่อมได้ผลบวกและลบของราคากราฟเท่ากัน จนเมื่อแน่ใจว่าราคาเลือกทิศทางชัดเจนแล้วจึงค่อยปิดออเดอร์ฝั่งที่ติดลบ จากนั้นจึงค่อยปิดด้วยออเดอร์ฝั่งที่ได้กำไร เมื่อหมดระยะการพุ่งของราคาในทิศทางนั้น อย่างไรก็ตามการเทรดวิธีนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยงระดับหนึ่งดังนี้

                ข้อดี

  1. แม้จะขาดทุนในช่วงแรกเมื่อเปิด ออเดอร์ผิดทิศทางของราคา แต่เมื่อทำ hedging แล้วหากการทำสำเร็จ ผู้เทรดมีโอกาสทำกำไรจากทั้ง 2 ทาง กล่าวคือ ทั้งขาขึ้นและขาลง
  2. การทำ hedging  ใช้เป็นการป้องกันความไม่แน่นอนของทิศทางราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงประกาศข่าวเศรษฐกิจสำคัญ เมื่อยังมีออเดอร์ค้างอยู่ในพอร์ต และผู้เทรดยังไม่อยากปิดออเดอร์นั้น แต่ด้วยกราฟอาจสวิงราคาขึ้นลงอย่างมาก ทำให้เสี่ยงโดนราคา stop loss โดยไม่จำเป็น การทำ hedging จึงช่วยป้องกันการขาดทุนโดยไม่จำเป็นได้เช่นกัน

ข้อเสีย

  1. หากผู้เทรด ไม่ได้มีความรู้ทางเทคนิคอลเพียงพอ การหาจุดกลับตัวของกราฟ ย่อมอาจทำได้ยาก และเมื่อทำการ hedging ย่อมไม่ทราบว่าควรปิดราคาใด ซึ่งหากเลือกปิดทิศทางของราคาผิด ย่อมอาจนำมาซึ่งการขาดทุนทวีคูณมากขึ้นจากการเข้าออเดอร์ทั้ง 2 ทิศทาง
  2.  การทำ hedging ย่อมเสมือนเป็นการกดดันตัวนักเทรดเองอย่างมากในการที่ต้องทำกำไรในออเดอร์ที่เปิดไปแล้ว ซึ่งอาจส่งผลเสียในการวิเคราะห์ของนักเทรดเอง ต่างจากการปิดออเดอร์ cut loss ซึ่งเมื่อเปิดออเดอร์ใหม่ ย่อมเป็นการเริ่มต้นใหม่

จากที่กล่าวมาการทำ hedging ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเข้า เทรดฟอเรกซ์ ได้ โดยเป็นกลยุทธ์ในการแก้พอร์ต เมื่อเข้าออเดอร์ผิด หรือเมื่อประกันความเสี่ยงกรณีมีการประกาศข่าวสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ราคากราฟสวิงไปแตะที่ราคาที่ตั้ง stop loss ไว้โดยไม่จำเป็นได้ อย่างไรก็ตามเทคนิคการทำ hedging นี้ ควรใช้เฉพาะนัก เทรดฟอเรกซ์ ที่มีความเข้าใจสภาวะตลาด และมีความรู้ทางเทคนิคอลในระดับหนึ่ง มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนมากขึ้น

Related posts

ลงทุนแบบ VI (Value investor) หรือ Technical analysis อย่างไรดีสุดในการ เทรดฟอเรกซ์ (Forex)

admin

แชร์เทคนิคการทำงานประจำควบคู่การ เทรดฟอเรกซ์

admin

Quick Look เครื่องมือการซื้อขาย Forex ที่ดีที่สุด

admin

Leave a Comment