ความรู้เบื้องต้น

การเทรดฟอเรกซ์ (Forex) ถูกหรือผิดกฎหมายในประเทศไทย

การ เทรดฟอกเรกซ์ ถูกหรือผิดกฎหมายในประเทศไทยหรือไม่ เป็นหนึ่งในคำถามหลายคำถามที่เกิดขึ้นมานาน เรียกได้ว่าจนปัจจุบันก็ยังมีการตั้งคำถามนี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข่าวด้านไม่ดีเกี่ยวกับฟอเรกซ์ อาจเป็นเพราะบุคคลบางกลุ่มใช้คำว่า ฟอเรกซ์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ จึงทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่วงการฟอเรกซ์ ซึ่งก็ยังคงมีให้เห็นอยู่แม้ในปัจจุบันก็ตาม

                ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจทั้งเหตุและผล ว่าทำไมจึงมีคำถามนี้เกิดขึ้นเกี่ยวกับวงการ เทรดฟอเรกซ์ คงต้องย้อนไปช่วงปี 2520-2528 กรณีคดีแชร์แม่ชม้อย เหตุคือ ขบวนการแชร์แม่ชม้อย โดย นางชม้อย ทิพย์โส ได้ทำการหลอกลวงฉ้อโกงประชาชนโดยหลอกลวงระดมทุน อ้างว่านำเงินไปลงทุนการซื้อขายน้ำมันและฟอเรกซ์ ซึ่งในการหลอกลวงนั้นมีผู้เสียหายราว 13,248 คน (เฉพาะที่มาร้องทุกข์) ซึ่งมีค่าเสียหายราว 4 พันล้านบาท แต่แท้จริงแล้วก็เหมือนการหลอกลวงทั่วไป ซึ่งมิได้มีการนำเงินไปลงทุนจริง แต่จุดนี้เองทำให้คนไทยเริ่มได้ยินคำว่าฟอเรกซ์ (forex) ครั้งแรก แม้จะไม่รู้มันคืออะไรก็ตาม แต่ได้ยินในด้านที่ไม่ดี นั้นจึงเป็นเหตุว่าทำไม จึงมีคำถามเกิดขึ้นทันที เมื่อได้ยินคำว่าฟอเรกซ์ และด้วยภาพลักษณ์ที่แย่ตั้งแต่ก่อนธุรกิจนี้จะเข้ามาในประเทศไทย ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐจึงหวาดกลัวและมองธุรกิจนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

                ประเด็นต่อไปสรุปแล้ว ฟอเรกซ์ถูกหรือผิดกฎหมายกันแน่ ประเด็นแรกขอตอบเรื่องผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญก่อน ตามที่กล่าวไปแล้วว่า ด้วยภาพลักษณ์ของฟอเรกซ์ ซึ่งถูกคนบางกลุ่มแอบอ้างใช้หลอกลวง ทำสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341,343 อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วฟอเรกซ์ก็เป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง เหมือนการซื้อขายของทั่วไป แต่เปลี่ยนเป็น เงินตรา แทน เพราะหลักการพื้นฐานนั้นเหมือนกันทุกอย่าง กล่าวคือซื้อที่ราคาต่ำ(ราคาถูก) ไปขายที่ราคาสูง (ราคาสูง) ทั้งความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงนั้นองค์ประกอบความผิดสำคัญอยู่ที่ โดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรจะบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม…. จะเห็นได้ว่าการที่เป็นความผิดฉ้อโกงได้นั้น จะต้องประกอบ 3 ส่วน 1 มีการหลอกลวง 2. มีผู้ถูกหลอกลวง 3.การหลอกลวงนั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์โดยมิชอบ แต่การ เทรดฟอเรกซ์ เมื่อมีการซื้อขายจริง ย่อมไม่อาจเป็นความผิดฉ้อโกงเพราะไม่มีการหลอกลวง

                ฟอเรกซ์ถูกกฎหมายหรือไม่ ด้วยปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรองการเทรดฟอเรกซ์อย่างถูกต้องกฎหมาย ทั้งโบรคเกอร์ส่วนใหญ่ จดทะเบียนนิติบุคคลตั้งอยู่ที่ต่างประเทศทั้งหมด ยังไม่การจดทะเบียนในประเทศไทย แม้อาจจะมีตัวแทนในประเทศไทยก็ตาม ส่วนหนึ่งเพราะกฎหมายประเทศไทยยังไม่เอื้ออำนวย เพราะยังไม่มีกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้มิได้ห้ามจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยแต่อย่างใด อีกทั้งตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 วางหลักว่า การใดแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายเกี่ยวความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ แสดงว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรา แม้มิได้มีกฎหมายบัญญัติโดยตรง แต่เมื่อไม่ใช่สิ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยย่อมเป็นเรื่องที่กระทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย ส่วนในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตรา พ.ศ.2485 มิได้ห้ามการเก็งกำไรในตลาดฟอเรกซ์แต่อย่างใด เพียงแต่มุ่งควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกเงินบาทประเทศไทย มิได้เกี่ยวเงินตราต่างประเทศ ซึ่งทำการซื้อในตลาดฟอเรกซ์

                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แม้ฟอเรกซ์ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง แต่ย่อมไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมายอย่างแน่น่อน ในทางตรงข้าม ภาครัฐควรเห็นความสำคัญการ เทรดฟอเรกซ์  โดยถือเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศและรัฐเองย่อมได้ประโยชน์ในเรื่องการจัดเก็บภาษี

Related posts

การลดลงของระบบการซื้อขายหุ้น

admin

การเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด

admin

เรียนรู้ Forex โดยใช้เครื่องมือของ Broker ของคุณ

admin

Leave a Comment