เทรดฟอเรกซ์

จิตวิทยาลงทุนในการเทรดฟอเรกซ์

หากกล่าวถึงในการ เทรดฟอเรกซ์ หรือลงทุนในตลาดหุ้นก็ตาม เชื่อว่านักเทรดส่วนใหญ่คงคิดว่าความรู้ทางเทคนิคอลสำคัญที่สุด โดยเฉพาะในตลาดฟอเรกซ์ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง อย่างไรก็ตามความรู้ทางเทคนิคอลกับการประสบความสำเร็จในการเทรดฟอเรกซ์ นั้นเป็นคนละเรื่องกัน เพราะมิใช่ว่านักเทรดคนใดมีความรู้ทางเทคนิคอลมากแล้วจะประสบความสำเร็จสามารถอยู่รอดในตลาดนี้ได้เสมอไป อาจกล่าวได้เพียงว่าความรู้ทางเทคนิคอลเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องต้นเท่านั้นในการ เทรดฟอเรกซ์ แต่สิ่งที่จะทำให้นักเทรดอยู่รอดและทำกำไรในตลาดฟอเรกซ์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงได้คือ ความรู้และความเข้าใจในตลาดนั้นอย่างแท้จริง หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตวิทยาการลงทุน

            จิตวิทยาการลงทุน เบื้องต้นนั้นหากพิจารณาตามส่วนประกอบของคำแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำ 2 คำคือ จิตวิทยา และ การลงทุน โดยคำว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนการคิด ความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่สามารถเฝ้าศึกษาทดลอง และสามารถอธิบายด้วยเหตุผล ไม่ใช่เพียงการคาดเดา ส่วนคำว่า การลงทุน โดยหลักย่อมหมายถึงการกระทำใด ๆ เพื่อสร้างมูลค่าสิ่งนั้นให้มากขึ้น

            เมื่อการลงทุนในตลาดฟอเรกซ์หรือในตลาดหลักทรัพย์ เกิดจากการกระของมนุษย์ กล่าวคือมนุษย์เป็นผู้กระทำสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นศาสตร์ว่าด้วยจิตวิทยาจึงเข้าไปศึกษาการกระทำดังกล่าว เพราะเป็นการกระทำของมนุษย์จึงย่อมสามารถให้คำตอบอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ โดยสามารถอธิบายสภาวะความคิดของนักลงทุนนักเก็งกำไรในตลาดนั้นได้ว่ามีความคิดเช่นใด และปกติจะตอบสนองต่อสภาวะตลาดนั้นเช่นใด จากที่กล่าวมา หากเรามีความเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาการลงทุนแล้วย่อมเสมือนเราสามารถทำนายความคิดนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรในตลาดได้ ทำให้ได้เปรียบในเข้าทำกำไรอย่างมาก

            จิตวิทยาการลงทุนสามารถอธิบายเหตุสภาวะจิตใจนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร โดยพิจารณาจากกราฟราคา โดยในตลาดหลักทรัพย์เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดฟอเรกซ์ การเข้าซื้อขายสินค้านั้น ต่างเต็มไปด้วยความหวัง ความกลัวและความโลภของนักเก็งกำไร เพราะทุกคนที่เข้ามาในตลาดนี้ต่างคาดหวังที่จะได้กำไรกลับไปทั้งสิ้น จึงเกิดการเข้าซื้อ และเมื่อเกิดความกลัว จึงขายทำกำไรออก กราฟราคาจึงเคลื่อนที่ขึ้นลงตามสภาวะของตลาดขณะนั้น ซึ่งสิ่งนี้เองเกี่ยวพันอย่างมากในทฤษฎีอีเลียตเวฟ (Elliott Wave) โดยตามทฤษฏีอีเลียตเวฟ หากจะให้คำจำกัดความแล้ว ย่อมเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยกราฟราคาและจิตวิทยาการลงทุน เนื่องจากทฤษฎีอีเลียตเวฟได้อธิบายการเคลื่อนที่ของกราฟราคาในแต่ละคลื่น ตามทฤษฎีหากเป็นช่วงเวลาเกิดเทรนด์ในตลาด หรือมีคลื่นกระตุ้นเกิดขึ้น (Impulse wave) จะประกอบด้วย 5 คลื่นย่อย โดยแต่ละคลื่นจะสะท้อนอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดขณะนั้น ดังนี้

คลื่นที่ 1 เป็นคลื่นนักลงทุนบางกลุ่มเข้าซื้อเพราะเห็นว่าราคาค่อนข้างต่ำ จึงเข้าซื้อไว้ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่กราฟราคาไต่ตัวสูงขึ้น ย่อมมีนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรต้องขายหุ้นนั้นออกเพื่อทำกำไรไว้บางส่วน อย่างไรก็ตามด้วยความเชื่อมั่นของนักลงทุนนั้นที่เห็นว่าหุ้นนั้นมีพื้นฐานที่ดี จึงยังคงเก็บไว้อยู่เป็นส่วนใหญ่ กราฟราคาจึงเคลื่อนตัวลงมาเป็น

คลื่นที่ 2 โดยไม่ทำจุดต่ำสุดต่ำกว่าคลื่นที่ 1 จุดนี้นี้เองจึงทำให้นักลงทุนและโดยเฉพาะนักเก็งกำไรเชื่อว่าหุ้นตัวนี้มีพื้นฐานที่ดี นักลงทุนและนักเก็งกำไรจึงต่างพากันเข้าซื้อ เกิดเป็น

คลื่นที่ 3 และเมื่อกราฟราคาได้เคลื่อนที่มาถึงจุดหนึ่งที่ราคาอิ่มตัว ย่อมต้องเกิดการเทขายทำกำไรบางส่วนอีกเช่นกัน แต่อาจไม่มากขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ด้วย จึงทำให้กราฟราคาลดลงก่อให้เกิด

คลื่นที่ 4 อย่างไรก็ตามด้วยความหวัง ความโลภโดยเฉพาะนักเทรดหน้าใหม่ที่คิดว่ากราฟราคายังขึ้นต่อไปได้ และของกลุ่มทุนบางกลุ่มที่มองว่ายังมีโอกาสทำกำไรได้อยู่จึงเข้าทำการซื้อจึงก่อให้เกิด

คลื่นที่ 5 อย่างไรก็ตามด้วยคลื่นนี้เป็นคลื่นจังหวะสุดท้าย ดังนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่ จึงไม่นิยมเข้าซื้อ ทำให้ volume ของการซื้อขายมีไม่มาก ซึ่งถือเป็นจุดสังเกตหนึ่งในช่วงก่อนเทรนด์จะกลับตัว และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ย่อมมีการเทขายทำกำไรในที่สุด ก่อให้เกิดคลื่นพักพักตัว (Correction wave)

ซึ่งในทางทฤษฎีอีเลียตเวฟ อธิบายได้ว่าประกอบไปด้วย 3 คลื่นย่อย A-B-C โดยมีรูปแบบการพักตัวหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาวะและความแข็งแรงของตลาด โดยอาจพักตัวไม่นานและกราฟราคาไม่พุ่งลงลึกมาก แล้วกลับสู่การเกิดคลื่นกระตุ้นต่อเนื่องไปก็ได้ หรืออาจพักตัวอย่างรุนแรง จนกระทั่งเกิด panic sell คือการร่วงลงของกราฟราคาอย่างรวดเร็วก็ได้ ถือเป็นช่วงควรหลีกเลี่ยงในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในการ เทรดฟอเรกซ์ ในตลาดฟอเรกซ์ ถือเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่เหมาะแก่การเก็งกำไร ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาการลงทุน กล่าวคือ ในช่วงที่ทุกคนต่างหวาดกลัวการขาดทุนจึงต่างรีบขายเพื่อทำกำไร มักส่งผลรุนแรงกว่าช่วงนักลงทุนเข้าซื้อ เพราะในช่วงเวลานั้นแม้นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรทำการเข้าซื้อก็ยังคงมีความหวาดกลัวภายในจิตใจอยู่เสมอเช่นเดียวกันว่ากราฟราคาอาจไม่เป็นไปตามที่คิด โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ทำการเข้าซื้อจะประกอบด้วยกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่ในส่วนการขายทำกำไรเพื่อหนีการขาดทุนจะประกอบด้วยบุคคลแทบทุกลุ่มไม่ว่านักลงทุนหรือนักเก็งกำไรที่เชื่อว่าหมดรอบการขึ้นในครั้งนั้น ๆ แล้ว จึงทำการขายหุ้นหรือค่าเงินนั้นอย่างรุนแรง

            จะเห็นได้ว่าทุกการเคลื่อนไหวของกราฟราคาล้วนมีเหตุผลเบื้องหลังอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะสภาวะอารมณ์ของนักลงทุนนักเก็งกำไร หากเรามีความรู้ความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาการลงทุนนี้ ก็ย่อมสามารถเข้าใจสภาวะตลาดขณะนั้น ขณะเดียวกันย่อมเข้าใจทฤษฎีและความรู้ทางเทคนิคอลต่าง ๆ อย่างมีหลักการมากขึ้น โดยไม่จำต้องท่องจำแต่อย่างใด ทั้งการท่องจำนั้นไม่อาจนำมาปรับใช้ในการเทรดหุ้นหรือ   เทรดฟอเรกซ์ ได้เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากความเข้าใจอย่างแท้จริง

Related posts

การเทรดทองคำ forex เค้าทำกันอย่างไร

admin

ข้อดีที่ยอดเยี่ยมของการซื้อขาย Forex อัตโนมัติ

admin

ความสำคัญของ Forex หรือ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

admin

Leave a Comment