ความรู้เบื้องต้น

ทฤษฎีอีเลียตเวฟ (Elliott wave)เบื้องต้น ในการเทรดฟอเรกซ์

ในการ เทรดฟอเรกซ์ ความรู้ทางเทคนิคอล ถือเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง หากไม่มีความรู้ทางเทคนิคอลอย่างแท้จริง การเทรดฟอเรกซ์ย่อมเป็นเรื่องที่ยากมาก การเข้าเทรดโดยไม่มีความรู้ คงไม่ต่างจากการเล่นพนัน อย่างไรก็ตามความรู้ทางเทคนิคอลนั้น สามารถแยกออกได้เป็นหลายแขนง เช่น สาย indicator หรือมักที่เรียกสั้น ๆ ว่าสาย อินดี้ คือ การ เทรดฟอเรกซ์ แนวที่ยึดเครื่องมือแสดงค่าต่าง ๆ  ในการเข้า-ออก ออเดอร์ เช่น พิจารณาจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย (moving average) หรือ สาย price action คือ การเทรดที่เน้นดูการกระทำของราคา โดยพิจารณาเรื่องแนวรับแนวต้าน พิจารณาว่าราคามีการ break out แนวรับหรือแนวต้านสำคัญหรือไม่ หรือยังอยู่ในแนวเดิม พร้อมหาเป้าหมายของราคาโดยใช้ Fibonacci เป็นตัวกำหนด อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงความรู้ในเรื่องทฤษฎีอีเลียตเวฟ ซึ่งถือเป็นความรู้ทางเทคนิคอลอย่างหนึ่ง และเป็นความรู้สำคัญ นักเทรดฟอเรกซ์กลับให้ความสำคัญเรื่องนี้น้อยมาก ส่วนหนึ่งอาจมาจากทฤษฎีอีเลียตเวฟนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และแทบจะหาความแน่นอนในการตรวจสอบความถูกต้องนั้นไม่ได้

            ทฤษฎีอีเลียตเวฟ (Elliott wave) ถือกำเนิดช่วงราว ค.ศ.1930 โดย Ralph Nellson Elliott (ราล์ฟ เนลสัน อีเลียต) นักบัญชี ชาวอเมริกัน ซึ่งได้ทำการศึกษาตลาดหุ้นโดยดูการเคลื่อนไหวของราคาย้อนไป 75 ปี จนพบว่ากราฟราคาในตลาดหุ้นมีการเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง โดยเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ  หากนักเทรดมีความเข้าใจในตลาด ย่อมเข้าใจในพฤติกรรมของราคา ว่าสภาพราคาขณะนั้น สะท้อนให้เห็นอะไรได้บ้าง อันที่จริงแล้วทฤษฎีอีเลียตเวฟ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุน เพราะการขึ้นลงของกราฟราคาเป็นผลมาจากการซื้อขายในตลาดของนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้ก็สามารถนำปรับใช้ในตลาดฟอเรกซ์ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่การ เทรดฟอเรกซ์ เป็นเรื่องของนักเก็งกำไร แต่หลักการพื้นฐานทั่วไปเหมือนกันทุกประการ

            เมื่อการขึ้นลงของกราฟราคา เป็นผลมาจากนักลงทุน ดังนั้นหากเราเข้าใจสภาวะอารมณ์ของนักลงทุน เราย่อมเข้าใจสภาวะตลาดเช่นเดียวกัน อีเลียตเวฟก็เช่นเดียวกัน การที่ทฤษฎีอีเลียตเวฟจะเกิดผลจริงได้จะต้องเกิดจากสภาพตลาดเป็นตัวกำหนดอย่างแท้จริงด้วย กล่าวคือเป็นตลาดที่มีการซื้อขายจำนวนมาก จนถูกแทรกแซงได้ยาก เพราะมิเช่นนั้น ย่อมเกิดการทำลายกฎนี้ได้ง่ายโดยกลุ่มทุนหรือบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้นยิ่งตลาดมีความใหญ่มากเท่าใด ทฤษฎีย่อมมีโอกาสเป็นจริงมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่า ตลาดฟอเรกซ์ซึ่งคือตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา การขึ้นลงของอัตราเงินนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง อีกทั้งการขึ้นลงของอัตราเงินนั้น ไม่สามารถกำหนดได้จากกลุ่มทุนเพียงกลุ่มเดียว หรือจากประเทศเดียวเพราะจะเกี่ยวกับค่าเงินของประเทศที่ผูกค่าด้วย เหมือนสงครามการเงิน ซึ่งไม่อาจมีคู่เงินใดชนะกันอย่างเด็ดขาด ดังนั้นเมื่อตลาดฟอเรกซ์มีลักษณะเปิดทั่วโลก (World wide) จึงถูกควบคุมได้ยาก ย่อมมีความเป็นได้สูงที่จะนำทฤษฎีมาปรับใช้ได้

            ตามทฤษฎีอีเลียตเวฟนั้น เชื่อว่าการขึ้นลงของคลื่น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1.คลื่นกระตุ้น (Impulse wave) 2.คลื่นพักตัว (correction wave)

            1.คลื่นกระตุ้น (Impulse wave) คือ คลื่นที่แสดงสภาวะตลาดมีเทรนด์อย่างชัดเจน โดยทางทฤษฎีอีเลียตเวฟ กำหนดให้คลื่น Impulse นี้มีจำนวน 5 คลื่น โดยหากวิเคราะห์แล้ว

คลื่นที่ 1 คือคลื่นก่อตัว คลื่นนี้สภาวะตลาดจะมีเพียงการซื้อขายของกลุ่มทุนบางกลุ่ม ยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจะก่อเกิดเทรนด์อย่างแท้จริง

คลื่นที่ 2 คือคลื่นที่เกิดผู้ถือหุ้น เห็นว่าราคาขึ้นสูงมาระดับหนึ่ง ควรขายออกทำกำไร ทำให้ราคาลดลง แต่ทั้งนี้ตัวคลื่นจะต้องไม่ลงมาต่ำกว่ากำเนิดของคลื่นที่ 1 มิฉะนั้นย่อมเกิดการทำลายรูปแบบ

คลื่นที่ 3 คือ คลื่นแสดงสภาวะของความต้องการในสินค้านั้นหลังจากราคาคลื่นที่ 2 ไม่ลดลงไปต่ำกว่าคลื่นที่ 1 นักลงส่วนใหญ่จึงเข้าซื้อกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คลื่นนี้พุ่งทะยานแรงมาก และควรเป็นคลื่นที่พุ่งแรงที่สุด

คลื่น 4 หลังจากราคาได้ทะยานสูงขึ้น ย่อมต้องการขายออกเพื่อเก็งกำไร ทำให้เกิดคลื่นที่ 4 เป็นคลื่นพักตัวของราคา ทั้งโดยปกติ กราฟราคาคลื่นนี้ไม่ค่อยพักตัวลงลึกมาก และไม่ควรมาพักตัวบริเวณคลื่นที่ 1 มิฉะนั้นอาจเกิดทำลายรูปแบบทั้งหมด กลายเป็นการพักตัวตัวของราคาแบบ correction wave แทน

คลื่นที่ 5 คือคลื่นสุดท้ายของคลื่นกระตุ้น คลื่นเสมือนให้คนที่ยังไม่ได้กำไร เข้ามาทำกำไร แต่เป็นคลื่นที่อันตรายมาก เนื่องจากหมดรอบการขึ้น มีความเป็นไปได้สูงที่นักลงทุนต่าง ๆ จะขายทำกำไร จนมีคำกล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่เริ่มพูดถึงการเล่นหุ้น เมื่อนั้นควรออกจากตลาด” คำพูดนี้เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นความเสี่ยงอย่างชัดเจนว่า เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มสนใจในหุ้นตัวใด และเข้าซื้อ นั้นย่อมเป็นโอกาสของนักลงทุน หรือนักเก็งกำไรที่จะขายหุ้นทำกำไร กรณีดังกล่าวก็เกิดในตลาดฟอเรกซ์ ในการ เทรดฟอเรกซ์ เช่นเดียวกัน

2.คลื่นพักตัว (correction wave) คือ คลื่นที่แสดงการพักตัวของราคาอย่างแท้จจริง ในทางทฤษฎี         อีเลียตเวฟ กำหนดให้มี 3 คลื่น เรียกว่าคลื่น A-B-C ซึ่งก็คลื่นที่มีทิศทางตรงข้ามกับคลื่นกระตุ้น (Impulse wave) อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พอครบการพักตัว 3 คลื่นนี้แล้วจะต้องกลายเป็นคลื่นกระตุ้นต่อเนื่อง นั้นเพราะราคาสามารถพักตัวได้เนื่อง โดยมีคลื่นที่เรียกว่า X wave เป็นคลื่นเชื่อมต่อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ อีกทั้งหากเมื่อนับคลื่นแล้ว ปรากฏว่าบางคลื่นหายไปจากระบบที่ควรมีอยู่เรียกว่า missing wave จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าความยากของอีเลียตเวฟ อยู่ตรงที่การระบุคลื่นปัจจุบันคือคลื่นอะไรกันแน่ และคลื่นต่อไปควรเป็นคลื่นอะไร และยากเพิ่มขั้นเมื่อเราไม่สามารถรู้ได้เลยการพักตัวจะจบจริงเมื่อไร

            สำหรับคลื่นพักตัว ในทฤฎีอีเลียตเวฟกำหนดไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1.รูปแบบ zigzag คือรูปแบบกราฟราคาลดลงอย่าเร็วมาก ราลงไปที่ A จากนั้นจะพักตัวที่ จุด B และราคาจะพุ่งลงแรงไปต่อที่จุด C

2. รูปแบบ flat คือรูปแบบที่ราคาลงไปที่จุด A แต่ก็กลับมาพักตัวบริเวณฐาน จุด A เช่นเดียวกัน จากนั้นเมื่อวิ่งตามเทรนด์เดิมที่จุด C โดยราคาแนวเดียวกับจุด A

3 รูปแบบ irregular คือรูปแบบที่ราลงไปที่จุด A แต่ราคากลับพักตัวไปเหนือฐานจุด A จากนั้นจึงกลับลงมาเป็นจุด C ซึ่งอยู่บริเวณจุด A

จากที่กล่าวมาความรู้ทางเทคนิคอลในทฤษฎีอีเลียตนั้น ถือเป็นความรู้หนึ่งที่เกี่ยวจิตวิทยาการลงทุน และเป็นความรู้สำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรเห็นภาพการเคลื่อนที่ราคาในภาพกว้างมากขึ้น สามารถคาดคะเนความน่าจะเป็นของราคาต่อไปซึ่งย่อมช่วยให้การ เทรดฟอเรกซ์ นั้นง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการจะกระทำเช่นนั้นได้ซึ่งอาจต้องใช้ประสบการณ์และการฝึกฝนในการวิเคราะห์สภาพตลาดประกอบด้วย เพราะทฤษฎีอีเลียตเวฟน่าจะถือเป็นความรู้ที่ยากที่สุดในสายเทคนิคอล

Related posts

Forex Swaps คืออะไรและคุณสามารถสร้างรายได้จากพวกเขาหรือไม่?

admin

การลดลงของระบบการซื้อขายหุ้น

admin

ปรัชญาการซื้อขาย FOREX ของคุณ

admin

Leave a Comment