เทคนิคการ เทรดฟอเรกซ์

เทคนิคการใช้ Macd ในการเทรดฟอเรกซ์

ในการ เทรดฟอเรกซ์ ความรู้ทางเทคนิคอลเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะการ เทรดฟอเรกซ์ เนื่องจากกราฟราคาในตลาดฟอเรกซ์มีความผันผวนอย่างมาก หากอาศัยเพียงความรู้ทางพื้นฐานเชิงคุณค่า (value investor) เพียงอย่างเดียวย่อมเป็นเรื่องยากในการเข้าทำกำไร ซึ่งต่างจากการเทรดในตลาดหุ้นหรือตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกราฟราคามีความผันผวนน้อยกว่า และปัจจัยพื้นฐานเป็นสิ่งบ่งบอกความแข็งแรงของหุ้นนั้นได้

            Macd คงเป็นหนึ่งในสิ่งที่นักเก็งกำไรในการ เทรดฟอเรกซ์ หรือนักลงทุนในตลาดหุ้นเลือกใช้ โดยมีคำกล่าวว่า Macd เสมือนเป็น king of indicator เนื่องจาก macd สามารถบอกข้อมูลที่สำคัญ เช่นสภาวะตลาด ความแข็งแรงของเทรนด์ ตลอดจนถึงการใช้เป็นจุดเข้าและจุดออกในออเดอร์ได้ด้วย

            Macd ( Moving Average Convergence Divergence) ถูกพัฒนาโดย เจรอลแอพเพล (Gerald Appel) ผู้เชี่ยวชาญการบริหารทางการเงิน โดยองค์ประกอบ Macd นั้นประกอบด้วย เส้นค่าเฉลี่ยน 2 เส้น แบบ exponential โดยค่ามาตรฐาน เส้นที่1 มีค่าเฉลี่ยที่ 26 และเส้นที่ 2 ค่าเฉลี่ยที่ 12 และค่า และในบางโปรแกรมอาจมีการแสดงค่า Histogram  ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเรียงกันไป โดยคำนวณจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในตัว Macd เองจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง โดยเอาเลข 0 เป็นตัวแบ่ง กล่าวคือ หากเส้นค่าเฉลี่ยอยู่เหนือเลข 0 เป็นกรณีกราฟราคามีแนวโน้มที่เคลื่อนที่เป็นขาขึ้น ขณะเดียวกัน หากเส้นค่าเฉลี่ยอยู่ใต้เลข 0 เป็นกรณีกราฟราคามีแนวโน้มเคลื่อนที่เป็นขาลง

            เบื้องต้นในการอ่านและใช้ค่า Macd พิจารณาโดยดูเพียงการดูเส้นค่าเฉลี่ย 26 และ 12 ตัดกัน หากเส้นค่าเฉลี่ยน้อยคือ 12 ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยมาก และสามารถอยู่เหนือเลข 0 ได้ นั้นแสดงการเคลื่อนที่ของกราฟราคาเป็นขาขึ้นโดยมีความแข็งแรงของเทรนด์ค่อนข้างมากหรือที่เรียกว่า Bull market ในทางตรงข้ามหากเส้นค่าเฉลี่ยน้อยตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยมากและอยู่ต่ำกว่า 0 นั้นแสดงว่าการเคลื่อนที่ของกราฟราคาเป็นขาลงโดยมีความแข็งแรงของเทรนด์ค่อนข้างมากหรือที่เรียกว่า Bear market ซึ่งทั้งสองเทรนด์หากเป็นการเทรดในตลาดฟอเรกซ์สามารถเข้าหาจุดเข้าออเดอร์เก็งกำไรได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามหากเป็นเพียงการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยแต่เกิดผิดฝั่ง เช่น เส้นค่าเฉลี่ยน้อยตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยที่มากกว่า แต่ตัดกันที่จุดต่ำกว่า 0 แสดงว่าเป็นแค่การพยายามดันราคาให้ขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นเพียงการพักตัวของราคา รวมถึงบ่งบอกสภาวะขัดกันของตลาดที่เริ่มมีเทรนด์ไม่แน่นอนหรือที่เรียกว่า Side way เป็นช่วงตลาดที่นักลงทุนและนักเก็งกำไรควรหลีกเลี่ยงในการเข้าออเดอร์มากที่ที่สุด เพราะมีความไม่แน่นอน โดยกราฟราคาอาจเคลื่อนไปตามเทรนด์เดิม ในที่กล่าวนี้คือฝั่งกราฟราคาเทรนด์ขาลง ซึ่งมักจะเคลื่อนที่ลงแรงขึ้นอีกอย่างมาก หากเป็นไปตามเทรนด์เดิม เพราะนั้นแสดงถึงการพักตัวของราคาเสร็จสิ้นแล้ว

            Macd บอกความน่าจะเป็นคลื่นที่ 3 ในทฤษฎีอีเลียตเวฟ กล่าวคือในทฤษฎีอีเลียตเวฟนั้นอธิบายว่า หากการเคลื่อนที่ของกราฟราคาแสดงลักษณะมีเทรนด์อย่างแท้จริง (Impulse wave) หรือคลื่นกระตุ้นซึ่งประกอบด้วย 5 คลื่นย่อยนั้น เราสามารถสังเกตได้จาก Histogram ที่แสดงเป็นรูปเหมือนภูเขาชัดเจนอยู่ 3 ยอด โดยยอดที่ 1 ทางซ้ายคือคลื่นที่ 1 ส่วนภูเขายอดที่ 2 ตรงกลางซึ่งเป็นภูเขายอดที่สูงสุดคือคลื่นที่ 3 และภูเขายอดที่ 3 ทางขวาคือคลื่นที่ 5 ดังนั้นเมื่อเราเห็นการสร้างฐานของกราฟราคาลักษณะมีเทรนด์อย่างแท้จริง พร้อมพิจารณา Histogram ของ Macd แล้วก็จะรู้ทันทีว่าเมื่อ Histogram ก่อตัวภูเขาลูกที่ 2 สูงกว่าลูกแรกได้ ย่อมมีโอกาสสูงมากกว่านี้ คลื่น impulse wave คลื่นที่ 3 ซึ่งคลื่นนี้กราฟราคาจะเคลื่อนที่อย่างรุนแรงมาก ย่อมเป็นโอกาสดีที่นักเก็งกำไรโดยเฉพาะในการ เทรดฟอเรกซ์ จะเข้าทำกำไร

            อย่างไรก็ตามนั้นเป็นหลักการและเทคนิคเบื้องต้น ในการพิจารณาค่า Macd แต่ในการ เทรดฟอเรกซ์รวมถึงการลงทุนในตลาดหุ้น ไม่อาจใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียวในการพิจารณาเข้าออเดอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Macd แม้จะเป็นเครื่องมือที่ดีเครื่องมือหนึ่ง แต่ตัว Macd เองไม่สามารถบอกจุดเข้าและจุดออกที่ดีสุดได้ เนื่องจากการแสดงผลมักช้ากว่ากราฟราคา เพราะMacd เป็นเครื่องมือที่คำนวนจากการเคลื่อนที่ของกราฟราคาที่ผ่านมาแล้ว และแสดงถึงความแข็งแรงของเทรนด์เป็นหลัก ดังนั้นจึงควรใช้เครื่องมือประเภทอื่นเพื่อหาจุดเข้าและจุดออกราคาอย่างแม่นยำ โดยใช้เพียง Macd เป็นเพียงตัวพิจารณาประกอบยืนยันความถูกต้องของกราฟราคานั้น ซึ่งความรู้ทางเทคนิคอลสาย Price Action สามารถบ่งบอกได้

            เพื่อความเข้าใจที่เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างและเครื่องมือจริงในการเข้าออเดอร์ตามรูปภาพดังนี้

จากรูปภาพ เมื่อราคาทองคำเคลื่อนที่ทะลุ (Break out) แนวรับเส้นเทรนด์ไลน์ได้ เราจะเห็นได้ว่า Histogram ของ Macd อยู่ต่ำกว่า 0 เช่นเดียวกัน แสดงการทะลุของราคาครั้งนี้มีแรงขายอย่างแท้จริง ซึ่งเราสามมารถเข้าออเดอร์Sell ได้ จากนั้นจึงพิจารณาเป้าหมายโดยใช้ Fibonacci โดยเป้าราคาที่ 161.8% พร้อมตั้ง Stop loss เหนือจุดสูงสุดของคลื่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันกราฟราคาได้เคลื่อนตัวลงมาพอสมควรแล้ว จึงเลื่อนจุด Stop loss ตามเพื่อล็อกกำไรขั้นต่ำไว้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสุดในการเทรดคือการรักษาทุนเอาไว้

            สรุปได้ว่าการใช้เครื่องมือ Macd ถือเป็นเครื่องมือทางเทคนิคอลเครื่องมือหนึ่งที่สามารถบอกค่าความแข็งแรงของกราฟราคาได้ ส่วนการพิจารณาจุดเข้าออกของกราฟราคาควรมีเครื่องมืออื่นประกอบด้วย สำหรับในการ เทรดฟอเรกซ์ Macd น่าจะเป็นเครื่องมือทางเทคนิคอลที่สำคัญเครื่องมือหนึ่งที่นักเทรดมืออาชีพเลือกใช้

Related posts

กลยุทธ์การซื้อขาย Forex

admin

สร้างรายได้จากการซื้อขาย Forex โดยใช้ความผันผวน

admin

เซสชั่นการซื้อขาย Forex

admin

Leave a Comment