Binance-Bitcoin

Staking pool คืออะไร?

Staking Pool คือกลุ่มผู้ถือเหรียญที่รวมทรัพยากรของตนเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกและรับรางวัล พวกเขารวมพลังในการทำ Staking และแบ่งปันรางวัลตามสัดส่วนการมีส่วนร่วมใน Pool

การตั้งค่าและการบำรุงรักษา Staking Pool มักต้องใช้เวลาและความชำนาญ Staking Pool จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเครือข่ายที่อุปสรรคในการเข้า (ทางเทคนิคหรือการเงิน) ค่อนข้างสูง ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการ Pool หลายรายจึงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากรางวัลจาก Staking ที่แจกจ่าบให้กับผู้เข้าร่วม

นอกเหนือจากนั้น Pool อาจเพิ่มความยืดหยุ่นแก่ผู้ร่วม Staking แต่ละราย โดยปกติเงินสำหรับ Staking จะต้องถูกล็อกเป็นระยะเวลาที่แน่นอนและมักจะมีระยะเวลาที่ใช้ในการถอนหรือการยกเลิกช้อผูกมัด ที่กำหนดโดยโปรโตคอล ยิ่งไปกว่านั้นมียอดเงินขั้นต่ำที่จำเป็นในการร่วม Staking เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นอันตราย

Staking Pool ส่วนใหญ่กำหนดยอดเงินขั้นต่ำที่ต่ำและไม่มีเวลาในการถอนเพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้การเข้าร่วม Staking Pool แทนการร่วม Staking แบบเดี่ยวอาจเหมาะสำหรับผู้ใช้มือใหม่

Cold Staking คืออะไร?

Cold staking หมายถึงขั้นตอนการร่วม Staking โดยใช้กระเป๋าเงิน ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจทำได้โดยใช้กระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์ แต่ก็สามารถทำได้ด้วยซอฟต์แวร์กระเป๋าเงินที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย

เครือข่ายที่รองรับการ Cold Staking ช่วยให้ผู้ใช้สามารถร่วม Staking ได้ในขณะที่ถือเงินอย่างปลอดภัยแบบออฟไลน์ เป็นที่น่าสังเกตว่าหากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย้ายเหรียญออกจากที่เก็บนี้ พวกเขาจะหยุดได้รับรางวัล

Cold Staking มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใหญ่ที่ต้องการให้เงินทุนของตนได้รับความคุ้มครองสูงสุดในขณะที่สนับสนุนเครือข่าย

วิธีร่วม Staking ที่ Binance

ในทางหนึ่ง คุณอาจคิดว่าการถือเหรียญของคุณบน Binance เป็นเหมือนการวางเงินใน Staking Pool อย่างไรก็ตาม ไม่มีค่าธรรมเนียม และคุณยังสามารถเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ทั้งหมด จากการถือเหรียญของคุณไว้กับ Binance!

สิ่งเดียวที่คุณต้องทำคือถือเหรียญ PoS ของคุณที่ Binance และเงื่อนไขทางเทคนิคทั้งหมดจะได้รับการดูแลให้คุณ โดยปกติรางวัลการเดิมพันจะแจกทุกต้นเดือน

สินทรัพย์ที่รองรับบางส่วน ได้แก่ EOS, Tezos (XTZ), Cosmos (ATOM), TRON, NEO, Algorand (ALGO), Vechain (VET), Ontology (ONT), Komodo (KMD), TROY , Fetch.ai, <11 >QTUM และอื่นๆ อีกมากมาย!

คุณสามารถตรวจสอบการแจกจ่ายรางวัลที่ผ่านมาสำหรับเหรียญใดเหรียญหนึ่งได้ในแท็บผลตอบแทนย้อนหลังในหน้า Staking ของแต่ละโครงการ

Staking ทำงานอย่างไร?

ดังที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ บล็อกเชนที่ใช้ Proof of Work จะอาศัยการขุดเพื่อเพิ่มบล็อกใหม่ให้กับบล็อกเชน ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่ใช้ Proof of Stake จะสร้างและตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกใหม่ผ่านวิธีการที่เรียกว่า Staking ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ตรวจสอบความถูกต้องที่ต้องล็อกเหรียญของพวกเขาไว้เพื่อให้มีสิทธิ์ได้รับเลือกจากการสุ่มโดยโปรโตคอลในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อสร้างบล็อก โดยปกติผู้เข้าร่วมที่วาง Staking จำนวนมากมีโอกาสสูงที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้ตรวจสอบบล็อกถัดไป

สิ่งนี้ช่วยให้สามารถสร้างบล็อกได้โดยไม่ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์สำหรับการขุดเป็นการเฉพาะ อย่าง ASICs ในขณะที่การขุดด้วย ASIC ต้องมีการลงทุนจำนวนมากในการจัดหาฮาร์ดแวร์ Staking ต้องมีการลงทุนโดยตรงในคริปโทเคอร์เรนซีเอง ดังนั้นแทนที่จะแข่งขันเพื่อสิทธิ์ในบล็อกถัดไปด้วยแรงงานในการคำนวณตรวจสอบ PoS จะถูกเลือกตามจำนวนเหรียญที่ใช้ในร่วม Staking ซึ่ง “Staking” (การถือเหรียญ) นี้ เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ต้องรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย หากพวกเขาไม่ทำเช่นนั้น เงินที่วางทั้งหมดของพวกเขาอาจตกอยู่ในความเสี่ยง

แม้ว่าบล็อกเชนของ Proof of Stake แต่ละแห่งจะมีสกุลเงินสำหรับ Staking โดยเฉพาะ แต่เครือข่ายบางแห่งก็ใช้ระบบสองโทเค็นซึ่งจะได้รับรางวัลเป็นโทเค็นที่สอง

ในทางปฏิบัติจริง Staking หมายถึงการเก็บเงินไว้ในกระเป๋าที่เหมาะสม สิ่งนี้ช่วยให้ทุกคนสามารถใช้ฟังก์ชันเครือข่ายต่างๆ และได้รับรางวัลตอบแทน และอาจรวมถึงการเพิ่มทุนใน Staking Pool ซึ่งเราจะอธิบายในไม่ช้า

คำนวณผลตอบแทนการร่วม Staking อย่างไร?

ไม่มีคำตอบสั้นๆ ในเรื่องนี้ เครือข่ายบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายอาจใช้วิธีการคำนวณผลตอบแทนการ Staking ที่แตกต่างกัน

บางบล็อกเชน ได้รับการปรับค่าแบบบล็อกต่อบล็อกโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึง:

เหรียญที่ผู้ตรวจสอบใช้ในการทำ Staking มีจำนวนเท่าใด

ผู้ตรวจสอบได้ร่วม Staking อยู่นานแค่ไหน

เหรียญทั้งหมดที่ร่วม Staking บนทั้งเครือข่ายมีจำนวนเท่าใด

อัตราเงินเฟ้อ

ปัจจัยอื่นๆ

สำหรับเครือข่ายอื่นๆ รางวัลในการ Staking จะถูกกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์คงที่ รางวัลเหล่านี้จะแจกจ่ายให้กับผู้ตรวจสอบความถูกต้องเป็นค่าตอบแทนซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อนี้กระตุ้นให้ผู้ใช้เลือกใช้จ่ายเหรียญแทนการถือเหรียญ ซึ่งอาจเพิ่มการใช้งานคริปโทเคอร์เรนซี แต่ด้วยรูปแบบนี้ ผู้ตรวจสอบความถูกต้องสามารถคำนวณรางวัลที่คาดว่าจะได้รับอย่างแม่นยำ

ตารางการให้รางวัลที่คาดเดาได้แทนที่จะเป็นการให้รางวัลบล็อกแบบความน่าจะเป็น อาจดูน่าพอใจสำหรับบางคน และเนื่องจากข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสาธารณะจึงอาจจูงใจให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการ Staking มากขึ้น 

Delegated Proof of Stake (DPoS) คืออะไร?

กลไกทางเลือกนี้ได้รับการคิดค้นในปี 2014 โดย Daniel Larimer เรียกว่า Delegated Proof of Stake (DPoS) โดยครั้งแรกถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของบล็อกเชน BitShares แต่หลังจากนั้นไม่นาน เครือข่ายอื่นๆ ก็นำโมเดลนี้มาใช้ ซึ่งรวมถึง Steem และ EOS ซึ่งสร้างโดย Larimer

DPoS อนุญาตผู้ใช้สามารถใช้ยอดเหรียญที่ตนมีเป็นสิทธิ์ในการลงคะแนนโหวตได้ โดยที่สิทธิ์การลงคะแนนจะแปรผันตามจำนวนเหรียญที่ถือ จากนั้นจะใช้คะแนนโหวตเหล่านี้เพื่อเลือกผู้แทนจำนวนหนึ่งที่จะจัดการบล็อกเชนในนามของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและการมีฉันทามติร่วมกัน โดยปกติแล้ว รางวัลจากการร่วม Staking จะถูกแจกจ่ายให้กับผู้ได้รับการเลือกตั้งเหล่านี้ ซึ่งจะแจกจ่ายรางวัลบางส่วนต่อไปให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามสัดส่วนสิทธิ์ของแต่ละคน

แบบจำลอง DPoS ช่วยให้สามารถบรรลุฉันทามติได้โดยใช้จำนวนโหนดที่ตรวจสอบความถูกต้องน้อยลง ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย ในทางกลับกัน การกระจายอำนาจอาจลดลงเนื่องจากเครือข่ายต้องอาศัยโหนดตรวจสอบความถูกต้องกลุ่มเล็ก โหนดตรวจสอบความถูกต้องเหล่านี้จัดการการดำเนินงานและการกำกับดูแลโดยทั่วไปของบล็อกเชนนั้นๆ พวกมันมีส่วนร่วมในกระบวนการเพื่อบรรลุฉันทามติและกำหนดพารามิเตอร์หลักต่างๆ ในการกำกับดูแล 

พูดง่ายๆ คือ DPoS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกเสียงตามสิทธิ์ของตนผ่านทางผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ในเครือข่าย

Related posts

Smart Contracts คืออะไร

admin

คำนวณขนาดในการซื้อขายได้อย่างไร?

admin

3 วิธีในการซื้อ Crypto สำหรับ Binance Launchpool

admin